Sunday, September 8, 2024
บทความส่วนผสมในครีมกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการัง

ส่วนผสมในครีมกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการัง

Share

จากงานวิจัยเมื่อปี 2016 ของ Craig Downs และคณะ ชี้ให้เห็นว่าครีมกันแดดอาจเป็นภัยต่อ แนวปะการัง ซึ่งพบว่าสารเคมี เช่น Oxybenzone หรือ BP3 ที่เป็นองค์ประกอบในครีมกันแดด ที่นิยมใช้ อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกว่า 3,500 ยี่ห้อทั่วโลก เป็นตัวที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากจะไปรบกวนระบบสืบพันธุ์ ท้าให้ตัวอ่อนปะการังโตแบบผิดรูป ปะการังมีภูมิคุ้มกันต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง และตายไปในที่สุด ซึ่งจากงานวิจัยคาดการณ์ว่าแต่ละปีมีครีมกันแดด มากถึง 6,000-14,000 ตัน ถูกชะล้างลงสู่ทะเลทุกปีซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อปะการังอย่างมาก นอกจาก สาร Oxybenzone หรือ BP3 ยังพบสารที่เป็นอันตรายต่อปะการังอีกดังนี้

  1. Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) : ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปะการัง ทำให้ตัวอ่อนโตผิดรูป ปะการังอ่อนแอต่อโรคและตายในที่สุด
  2. Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) : ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปะการัง คล้ายกับ Oxybenzone
  3. 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) : ทำให้ปะการังฟอกขาว
  4. Butylparaben (วัตถุกันเสีย) : ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปะการัง คล้ายกับ Oxybenzone

ปริมาณ :

แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อครีมกันแดดถูกชะล้างลงสู่ทะเล ปริมาณเหล่านี้จะสะสม ส่งผลเสียต่อปะการังและระบบนิเวศทางทะเล

ผลกระทบ :

  • ปะการังฟอกขาว
  • ระบบสืบพันธุ์ของปะการังถูกทำลาย
  • ปะการังอ่อนแอต่อโรคและตาย
  • ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเล

ทางเลือก :

  • เลือกครีมกันแดดที่มีฉลาก “Reef-safe” หรือ “Safe for coral reefs”
  • หลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มี Oxybenzone, Octinoxate, 4-Methylbenzylid Camphor และ Butylparaben
  • ทาครีมกันแดดในปริมาณที่พอเหมาะ
  • ทาครีมกันแดดก่อนลงน้ำอย่างน้อย 15 นาที
  • สวมเสื้อผ้ามิดชิด หมวก และแว่นกันแดด
  • เลี่ยงการทาครีมกันแดดใกล้แนวปะการัง

กฎหมาย :

  • หลายประเทศและพื้นที่ห้ามใช้ครีมกันแดดที่มี Oxybenzone และ Octinoxate
  • ตัวอย่างเช่น ประเทศไทย ห้ามใช้ครีมกันแดดที่มี Oxybenzone, Octinoxate, 4-Methylbenzylid Camphor และ Butylparaben ในอุทยานแห่งชาติ

เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

เรื่องน่ารู้อื่นๆ